มาตรฐานรับรอง
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 9
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 783
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,066,025
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
26 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             
 การใช้กากมันเป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์

            ความเหมาะสมการใช้กากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์น้ำ
            กากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบประเภทแป้ง ซึ่งเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานได้ดีเนื่องจากเป็นแป้งอ่อนย่อยง่าย ไม่มีสารพิษ เนื่องจากกรดไฮโดรไซยานิคในมันสำปะหลัง เมื่อถูกความร้อนจากการตากและความร้อนจากขบวนการผลิตอาหาร จะสลายไปจนมีระดับต่ำกว่า ๓๐ พีพีเอ็ม ไม่เป็นอันตรายต่อปลา นอกจากนี้ เชื้อราที่ขึ้นบนสำปะหลังไม่มีการสร้างสารพิษจากเชื้อรา หรือมีแต่อยู่ในระดับต่ำมากจนไม่เป็นอันตราย กากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูก จึงสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนปลายข้าวที่มีราคาแพง และทดแทนข้าวโพดซึ่งมักมีปัญหาสารพิษจากเชื้อราได้ดี กากมันสำปะหลังที่ใช้ในอาหารสัตว์น้ำนั้น เป็นผลิตผลที่ได้จากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง โดยใช้หัวมันสำปะหลังสดมาล้างน้ำแล้วโม่ให้แหลกจะได้น้ำแป้งและกาก จากน้ำแป้งก็ทำการแยกแป้งออกจากน้ำโดยการทิ้งไว้ให้แป้งตกตะกอนหรือเข้าเครื่องแยกโดตรง แป้งที่ได้นำมาทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนและบดให้ละเอียดเป็นแป้งมันสำปะหลัง หัวมันสำปะหลังสด 1 กิโลกรัม ได้แป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย ๐.๒๐ กิโลกรัม และได้กากมันสำปะหัง ๐.๔ – ๐.๙ กิโลกรัม ราคากากมันสำปะหลังเฉลี่ย ๐.๒๐ – ๐.๔๐ บาท ต่อกิโลกรัม
 
            คุณค่าทางอาหารของกากมันสำปะหลัง
            คุณค่าทางอาหารของกากมันสำปะหลังจากการวิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืดกรมประมง (ตัวอย่างลำดับที่ ๓ เป็นกากมันสำปะหลังที่นึ่งแล้ว)

 
  • ความชื้น              ๘๓.๔๐ %
  • โปรตีน                           ๐.๒๙ %
  • ไขมัน                             ๐.๕๐ %
  •  เยื่อใย                           ๒.๑๒ %
  •  เถ้า                                ๐.๔๑ %
             ขั้นตอนดำเนินการ
            ๑. หาวัตถุดับที่หาง่ายในท้องถิ่น มาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาป่น รำ และกากมันสำปะหลัง ในอัตรา
๑:๑:๒  ตามลำดับ (กากมันสำปะหลังได้ผ่านกระบวนการความร้อนโยการนึ่งให้สุก ใช้เวลา ๑ – ๒ ช.ม.)
            ๒. คำนวณสูตรอาหารโดยใช้ สัดส่วน ร้อยละ และตารางสี่เหลี่ยม
โจทย์ ใช้วัตถุดิบ ๓ อย่าง คือ ปลาป่น ๑ ส่วน รำละเอียด ๑ ส่วน กากมันสำปะหลัง ๒ ส่วน ผสมอาหารสัตว์น้ำ จำนวน ๑.๐ กิโลกรัม จงหาปริมาณวัตถุดิบแต่ละชนิด เปอร์เซ็นต์โปรตีน และความชื้นในอาหาร
 
ขั้นตอนที่ ๑ หาปริมาณวัตถุดิบแต่ละชนิด
-   ปลาป่น ๑ ส่วน ๑/๔ = ๐.๒๕ กิโลกรัม
-  รำละเอียด ๑ ส่วน ๑/๔ = ๐.๒๕ กิโลกรัม
-  กากมันสำปะหลัง ๒ ส่วน ๒/๔ = ๐.๕๐ กิโลกรัม
      
ขั้นตอนที่ ๒ หาเปอร์เซ็นต์ โปรตีน ของอาหารแต่ละชนิด (ดูจากตาราง)
-  ปลาป่น มีโปรตีน ๕๕ %
-  รำละเอียด มีโปรตีน ๑๒.๒ %
-  กากมันสำปะหลัง มีโปรตีน ๐.๒๙ %
               
คำนวณหาเปอร์เซ็นต์โปรตีน
    ปลาป่น  ๑ ส่วน + รำละเอียด ๑ ส่วน + กากมันสำปะหลัง ๒ ส่วน มีโปรตีนเฉลี่ย
    (๕๕.๐ + ๑๒.๒ + ๐.๒๙+๐.๒๙) / ๔ = ๑๖.๙๕ เปอร์เซ็นต์
ขั้นตอนที่ ๓ หาเปอร์เซ็นต์ ความชื้น ของอาหารแต่ละชนิด (ดูจากตาราง)
-  ปลาป่น ความชื้น ๙.๗ %
-  รำละเอียด ความชื้น ๑๐ %
-  กากมันสำปะหลัง ความชื้น ๘๓.๔ %
   คำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น
     ปลาป่น ๑ ส่วน + รำละเอียด ๑ ส่วน + กากมันสำปะหลัง ๒ ส่วน มีความชื้นเฉลี่ย
     (๙.๗ + ๑๐ + ๘๓.๔+๘๓.๔) / ๔ = ๔๖.๖๓ เปอร์เซ็นต์
 
ขั้นตอนที่ ๔ คำนวณหาปริมาณปลาป่นในสูตรอาหาร ๑ กิโลกรัม
                อาหารผสม ๕๐.๗๓ กิโลกรัม ต้องมีปลาป่น ๑๒.๖๙ กิโลกรัม
                อาหารผสม ๑.๐๐ กิโลกรัม ต้องมีปลาป่น (๑๒.๖๙/๕๐.๗๓)  x ๑ = ๐.๒๕ กิโลกรัม
                อาหารผสม ๕๐.๗๓ กิโลกรัม ต้องมีรำ+กากมันสำปะหลัง ๓๘.๐๕ กิโลกรัม
                อาหารผสม ๑.๐๐ กิโลกรัม ต้องมีรำ+กากมันสำปะหลัง (๓๘.๐๕/๕๐.๗๓) x ๑ = ๐.๗๕ กิโลกรัม
     แต่อาหารผสมระหว่าง รำ + กากมันสำปะหลัง ๐.๗๕ กิโลกรัม ผสมในอัตราส่วน ๑ : ๒ ส่วน
                ใช้รำ (๐.๗๕x๑)/๓ = ๐.๒๕ กิโลกรัม กากมันสำปะหลัง (๐.๗๕x๒)/๓ = ๐.๕๐ กิโลกรัม
               
ขั้นตอนที่ ๕ ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์โปรตีนในสูตรอาหาร

ชนิดของวัตถุดิบ จำนวน (กิโลกรัม) ปริมาณโปรตีน
ปลาป่น ๐.๒๕ ๐.๒๕ x (๕๕.๐๐/๑)  = ๑๓.๗๕
รำ ๐.๒๕ ๐.๒๕ x (๑๒.๒๐/๑)  = ๒.๐๕
กากมันสำปะหลัง ๐.๕๗ ๐.๕๐ x  (๐.๒๙/๑)     = ๐.๑๕
รวม ๑.๐๐ ๑๖.๙๕
 
 
 
 
 
 
                คำตอบ 

ชนิดของวัตถุดิบ จำนวน (กิโลกรัม) ปริมาณโปรตีน เปอร์เซ็นต์ความชื้น
ปลาป่น ๐.๒๕ ๑๓.๗๕ ๙.๗๐
รำ ๐.๒๕ ๓.๐๕ ๑๐.๐
กากมันสำปะหลัง ๐.๕๗ ๐.๑๕ ๘๓.๔x๒
รวม ๑.๐๐ ๑๖.๙๕ ๑๘๖.๕/๔ = ๔๖.๖๒๕
 
                ๓. ชั่งวัตถุดิบและผสมแต่ละส่วนที่คำนวณได้ โดยใช้ปลาป่นผสมกับรำก่อนเนื่องจากเป็นวัตุดิบชนิดแห้ง จากนั้นผสมกับกากมันสำปะหลัง
                ๔. ปั้นเป็นก้อนแล้วนำไปเลี้ยงสัตว์น้ำ
 
สรุปวิจารณ์ผล / ข้อเสนอแนะ
                ตารางเปรียบเทียบต้นทุนอาหารผสม และอาหารสำเร็จรูป

วัตถุดิบ ราคา บาท / กิโลกรัม ปริมาณ (กิโลกรัม) เงิน (บาท) % โปรตีน
ปลาป่น ๓๐.๐๐ ๐.๒๕ ๗.๔๐ ๑๓.๗๕
รำ ๑๐.๐๐ ๐.๒๕ ๒.๕๐ ๓.๐๕
กากมันสำปะหลัง ๐.๒๐ ๐.๕๐ ๐.๑๐ ๐.๑๕
รวม ๑.๐๐ ๑๖.๙๕ ๑๖.๙๕
อาหารปลากินพืช ๑๕.๐๐ ๑.๐๐ ๑๕.๐๐ ๑๖.๘๔
 
                จากตารางเปรียบเทียบต้นทุนอาหารผสมและอาหารสำเร็จรูป พบว่า ต้นทุนอาหารทีผสมใช้เองมีระดับโปรตีน ๑๖.๘๔%  ต้นทุน ๑๐.๑๐บาท/กิโลกรัม และอาหารสำเร็จรูปในท้องตลาด มีระดับโปรตีน ๑๖..๘๔ %  ต้นทุน ๑๕ บาท/กิโลกรัม ซึ่งอาหารที่ผสมเองจะมีต้นทุนต่ำกว่า ๔.๙๐ บาท/กิโลกรัม แต่ในเรื่องโภชนะนั้นจำต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก เพราะอาหารทีผสมเอง ใช้วัตถุดิบ ๓ อย่าง ยังขาดวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารบางอย่าง ถึงแม้ว่าอาหารผสมขึ้นเองจะมีต้นทุนต่ำกว่าแต่ก็มีข้อเสีย คือ เก็บได้ไม่นานและมักจะขึ้นราเนื่องจากมีความชื้นสูง ต้องผลิตจำนวนมากครั้ง และเมื่อให้อาหารจะมีการสูญเสียไปกับน้ำโดยละลายในน้ำเนื่องจากเป็นอาหารแบบเปียก โอกาสที่สัตว์น้ำจะใช้ประโยชน์หมดนั้นมีน้อย กว่าอาหารแบบเม็ดลอยน้ำ อาหารผสมนี้ควรผสมพืชผักต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนะและหาได้ในพื้นที่ เช่น ใบกระถิน ใบหม่อน ผักต่าง ๆ ฯลฯ และอื่น ๆ อีก ซึ่งจะไปเพิ่มในเรื่องวิตามัน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ ให้สมบูรณ์มากขึ้น
                นอกจากนี้ ปัญหาเกี่ยวกับการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์น้ำนั้น มีเกษตรกรหลายรายที่เลือกใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบอื่นในภาวะทีวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำมีราคาแพง เพราะต้องการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง และแม้ว่ามันสำปะหลังจะมีประโยชน์ แต่หากใช้อย่างไม่ถูกวิธีหรือใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็จะเกิดโทษได้ เพราะมันสำปะหลังมีไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ในระดับสูง จึงไม่แนะนำให้ใช้หัวมันสดมาเลี้ยงสัตว์น้ำ ควณผ่านกระบวนการความร้อนก่อน จะทำให้ไซยาไนด์ มีระดับต่ำกว่า ๓๐ พีพีเอ็ม ไม่เป็นอันตรายต่อปลา และเชื้อราที่ขึ้นบนมันสำปะหลังไม่มีการสร้างสารพิษจากเชื้อรา หรือมีแต่อยู่ในระดับต่ำมากจนไม่เป็นอันตราย
                เทคนิคการใช้มันสำปะหลังทำเป็นอาหารสัตว์น้ำ หากพิจารณาจากส่วนประกอบทางเคมีของกากมันสำปะหลังแล้ว พบว่ากากมันสำปะหลังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ให้แป้งหรือพลังงานที่ดี เช่นเดียวกับข้าวโพด หรือปลายข้าว แต่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน เช่น กรดอมิโนเมทไทโอนีน และกรดอมิโนอื่น ๆ ต่ำกว่าข้าวโพดหรือปลายข้าว ดังนั้นเทคนิคการใช้มันเส้นในสูตรอาหารสัตว์จำเป็นต้องมีสิ่งต่อไปนี้

                1. เสริมโปรตีนเพื่อปรับระดับโปรตีน โดยทั่วไปจะเสริมด้วย กากถั่วเหลืองหรือปลาป่น

                2. เสริมไขมันหรือน้ำมันพืชเพื่อเพิ่มปริมาณกรดไขมันที่จำเป็น หรือเพิ่มกากน้ำตาล (ไม่ควรเกิน ๓-๔% ในสูตรอาหาร) เพื่อช่วยให้อาหารมีความน่ากิน ทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้น

ระดับการใช้มันสำปะหลังในสูตรผสมอาหารผันแปรระหว่าง ๒๕-๓๕ เปอร์เซ็นต์ (ความชื้นไม่เกิน ๑๓ เปอร์เซ็นต์) ในสูตรอาหารขึ้นอยู่กับระดับโปรตีนในสูตรอาหารแต่ละระยะ กากมันสำปะหลังที่ใช้เป็นส่วนผสมอาหารครั้งนี้อยู่ในระดับ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ (มีความชื้น ๘๓.๔ เปอร์เซ็นต์ ) เป็นวัตถุดิบเปียกมีความชื้นสูง จึงอยู่ในระดับที่เหมาะสม
 
 
               
                                                                                                  ที่มา : สำนักงานประมงอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี


 

Engine by MAKEWEBEASY