ผลของกากมันสำปะหลังในสูตรอาหารต่อกระบวนการอัดเม็ด คุณภาพเม็ดอาหารและ
สมรรถภาพการผลิตของสุกรระยะอนุบาล
Effect of Cassava Pulp Diet on Feed Pelleting Process, Pellet Quality and
Growth Performance in Weaning Pigs
-------------------------------------------------------------------
คำนำ
อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ของมัน
สำปะหลัง ผลพลอยได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลังอย่างหนึ่งคือ กากมันสำปะหลัง ซึ่งมีปริมาณแป้งเหลืออยู่
ค่อนข้างมาก ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นแป้งที่ย่อยได้ง่าย จึงถูกพิจารณาให้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทน
วัตถุดิบอาหารสัตว์กลุ่มพลังงานอื่นที่มีราคาสูงเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารลงโดยเฉพาะอาหารลูกสุกร โดยกากมัน
สำปะหลังมีพลังงานใช้ประโยชน์ได้ในสุกรประมาณ 2,400–2,600 Kcal/Kg (เสกสม และคณะ, 2550) แต่
อย่างไรก็ตามกากมันสำปะหลัง มีลักษณะทางกายภาพคือฟ่าม ฟู เป็นฝุ่น มีเยื่อใยค่อนข้างสูงคือประมาณ 13-
21 % โปรตีนประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (Machin and Nyvold, 1992) โดย
ความฟ่ามของมันสำปะหลังมีค่าเฉลี่ยที่ 364 กรัมต่อลิตร และมีสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนที่ 12.11 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งอาจมีผลระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและส่งผลกระทบต่อปริมาณอาหารที่
กินได้ของสุกร ตลอดจนสมรรถภาพการผลิตของสุกรอนุบาล ซึ่งระบบทางเดินอาหารยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ใน
กรณีนี้กระบวนการอัดเม็ดอาหารเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดความฟ่ามและเพิ่มความน่ากินให้กับอาหาร แต่การ
ใช้วัตถุที่มีเยื่อใยสูงอาจส่งผลต่อกระบวนการอัดเม็ดอาหาร คุณภาพของเม็ดอาหาร
อุปกรณ์และวิธีการ
การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของกากมันสำปะหลังต่อกระบวนการอัดเม็ดและคุณภาพเม็ดอาหาร
การทดลองใช้อาหารทดลอง 2 สูตรคือ สูตรควบคุม (ไม่มีกากมันสำปะหลัง) และสูตรที่มีกากมัน
สำปะหลังระดับ 10 % มีองค์ประกอบดังแสดงใน Table 1 มาผ่านกระบวนการคลุกไอน้ำอัดเม็ด ด้วยเครื่อง
อัดเม็ด Model SZLH40 (Jiang Zhenghang, China) ที่อุณหภูมิคลุกไอน้ำ 70 องศาเซลเซียส รีดผ่านรูดายร์
ขนาด 3 มิลลิเมตร เมื่อสภาวะการผลิตคงที่สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อวัดความชื้นของอาหารผงเย็น (อาหารผงก่อนการ
คลุกไอน้ำ) อาหารผงร้อน (อาหารผงหลังการคลุกไอน้ำ) อาหารเม็ดร้อน (อาหารเม็ดที่รีดผ่านรูดายร์) และ
อาหารเม็ดเย็น (อาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งและเย็น) และวัดอุณหภูมิของอาหารเม็ดร้อนและอาหารผง
ร้อน จากนั้นสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเม็ดเย็นเพื่อนำไปวิเคราะห์คุณภาพเม็ดอาหาร ประกอบด้วยความแข็งของเม็ด
อาหาร (hardness) ด้วย Kahl hardness tester (Model 21465, Reinbek, Germany) ความคงทนของเม็ด
อาหาร (pellet durability index; PDI) ตามวิธีของ ASAE (1987) และองค์ประกอบทางโภชนะของอาหารทดลอง
แต่ละสูตร (A.O.A.C, 1990) บันทึกข้อมูลระหว่างกระบวนการอัดเม็ด ได้แก่ อุณหภูมิคลุกไอน้ำ ความดันระหว่าง
คลุกไอน้ำ ปริมาณการผลิตต่อชั่วโมง กระแสไฟฟ้า ระยะเวลาการอัดเม็ด เพื่อนำมาคำนวณหาค่าพลังงานการ
อัดเม็ด โดยใช้สูตรดังนี้
E = Amp x Volt x 0.8 x 0.8 x 3
Ton/Hr x 1000
เมื่อ E คือ ค่าพลังงานที่ใช้ในการอัดเม็ดอาหาร (กิโลวัตต์-ชั่งโมงต่อตัน) Amp คือ ค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ใน
การอัดเม็ด Volt คือ ค่าศักย์กระแสไฟฟ้าซึ่งในการทดลองนี้มีค่า 380 โวลต์ และ Ton/Hr คือ ค่ากำลังการผลิต
อาหารอัดเม็ด
การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของกากมันสำปะหลังในรูปอาหารอัดเม็ด ต่อสมรรถภาพการผลิตของสุกร
ระยะอนุบาล
การทดลองใช้สุกรสามสายเลือด (LR x LW x D) คละเพศ จำนวน 128 ตัว อายุ 4 สัปดาห์ น้ำหนัก
เริ่มต้นเฉลี่ย 7.2 กิโลกรัม ใช้แผนการทดลองแบบ t-test โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มการทดลอง กลุ่มละ 8 ซ้ำ แต่ละ
ซ้ำมี 8 ตัว เลี้ยงสุกรด้วยอาหารทดลอง (จากการทดลองที่ 1) ตามกลุ่มการทดลอง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ใน
โรงเรือนแบบปิด โดยให้สุกรได้รับน้ำและอาหารเต็มที่ ลูกสุกรทุกตัวได้รับวัคซีนมัยโคพลาสม่า ที่อายุ 5 สัปดาห์
และวัคซีนอหิวาห์สุกร ที่อายุ 6 สัปดาห์ ชั่งน้ำหนักอาหารที่กินทุกสัปดาห์และชั่งน้ำหนักตัวสุกรอีกครั้งเมื่อสิ้นสุด
การทดลอง เพื่อนำมาคำนวณอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินต่อวัน ประสิทธิภาพการใช้อาหาร
และอัตราการตายของสุกร
การวิเคราะห์ทางสถิติ
ข้อมูลกระบวนการผลิตทั้งหมด ประกอบด้วย ค่าพลังงานการอัดเม็ด ค่าความแข็งของเม็ดอาหาร ค่า
ความคงทนของเม็ดอาหาร (การทดลองที่ 1) และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินต่อวัน
ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และอัตราการตายของสุกร (การทดลองที่ 2) ถูกนำมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่าง
กลุ่มการทดลอง ด้วยวิธี t-test ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป (SAS, 2003)
Ingredients Level of cassava pulp (%)
0 10
Corn 32.4 32.0
Cassava pulp 0 10.0
Soybean meal (44% CP) 15.0 16.0
Hydrolyzed rice bran 13.3 13.3
Full fat soybean 10.0 10.0
Fermented dehulled soybean meal 8.0 10.6
Rice bran 6.7 -
Wheat bran 6.7 -
Meat and bone meal 4.0 4.0
Dicalciumphosphate 0.8 1.0
Limestone 0.6 0.5
Salt 0.2 0.2
Molasses 1.3 1.3
L-Lysine 0.1 0.081
DL-Methionine 0.027 0.008
Vitamin-mineral premixes1 0.2 0.2
Total 100.0 100.0
Calculated nutrient composition (%)
Crude Protein 22.00 22.00
Crude fiber 4.03 4.00
Fat 5.63 4.56
Ash 6.17 5.99
Metabolizable energy (kcal/kg) 3399.96 3399.91
Lysine 1.30 1.30
Methionine 0.36 0.36
Methionine + Cystine 0.72 0.72
Threonine 0.83 0.84
Tryptophan 0.26 0.26
Calcium 0.93 0.97
Total phosphorus 0.79 0.69
Available phosphorus 0.45 0.45
1 This premix provided the following microelements: vitamin A, 4.00 MIU; vitamin D, 0.4 MIU; vitamin E, 15,000 IU; vitamin K, 1
g; vitamin B1, 0.5 g; vitamin B2, 2.0 g; vitamin B6, 1.0 g; vitamin B12, 0.01 g; pantothenic acid, 6 g; niacin, 12 g; biotin, 0.08 g;
selenium, 0.1 g; Fe, 40 g; Mn, 7.5 g; Zn, 40 g; Cu, 2.5 g; I, 0.5 g.
ผลการทดลองและวิจารณ์
กระบวนการอัดเม็ดและคุณภาพเม็ดอาหาร
จากการศึกษาพบว่าเมื่อมีการใช้กากมันสำปะหลังในสูตรอาหาร จะส่งผลให้ค่าพลังงานการอัดเม็ดสูง
กว่าอาหารสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) โดยที่ค่าพลังงานการอัดเม็ดของสูตรควบคุมและ
สูตรที่มีกากมันสำปะหลัง 10% เท่ากับ 11.38 และ 16.162 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตัน ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากกาก
มันสำปะหลังมีลักษณะทางกายภาพที่ฟ่าม เบา และมีปริมาณน้ำมันเป็นองค์ประกอบอยูน่ ้อย จึงต้องเสริมน้ำมัน
จากแหล่งอื่นเพื่อเพิ่มความน่ากินของอาหาร ส่งผลต่อการอัดเม็ดต้องการพลังงานกลจากมอเตอร์ในการขึ้นรูป
อัดเม็ดมาก และเมื่อนำตัวอย่างอาหารอัดเม็ดมาศึกษาคุณภาพของเม็ดอาหาร ประกอบด้วย ความแข็งของเม็ด
อาหารและความคงทนเม็ดอาหาร พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติของคุณภาพเม็ดอาหารระหว่างสูตร
ควบคุม และสูตรอาหารที่ใช้กากมันสำปะหลังที่ระดับ 10% โดยที่ความแข็งของเม็ดอาหารสูตรควบคุมและสูตร
กากมันสำปะหลัง 10% เท่ากับ 12.18 และ 12.15 ตามลำดับ ความคงทนของเม็ดอาหารสูตรควบคุม และสูตร
กากมันสำปะหลัง 10% เท่ากับ 96.23 และ 96.15 ตามลำดับ (Table 2)
Table 2 Effect of cassava pulp on pelleting characteristics and growth performance of weaning pigs
Level of cassava pulp (%) P -value
0 10
Processing conditions
Hot mash temperature, C 72.4 72.4 -
Hot pellet temperature, C 79.2 80.8 -
Cool mash moisture, % 10.48 10.16 -
Hot mash moisture, % 12.31 11.23 -
Hot pellet moisture, % 12.26 11.40 -
Final pellet moisture content after cooling, % 10.14 10.05 -
Energy consumption, kWh/ton 11.3 ± 0.12A 16.12 ± 0.20B <0.0001
Pellet quality
Hardness, Kgforce 12.2 ± 0.05 12.2 ± 0.07 0.7014
Pellet durability index (PDI), % 96.2 ± 0.11 96.2 ± 0.15 0.7090
Growth performance
ADG, g/day 322 ± 10.4a 267 ±15.1b 0.0103
ADFI, g/day 586 ± 20.7 540 ± 23.7 0.1664
FCR 1.83 ± 0.05a 2.03 ± 0.04b 0.0110
Mortality rate, % 0 0 -
a, b Means within a column having common superscript are significant different (P<0.05)
A, B Means within a column having common superscript are highly significant different (P<0.01)
kWh/t = Kilowatt-hour/ton
สมรรถภาพการผลิตของสุกรระยะอนุบาล
จากการศึกษาพบว่าปริมาณอาหารที่กินต่อวันของลูกสุกร ทั้งสองกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน
ทางสถิติ โดยปริมาณอาหารที่กินต่อวันเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ให้อาหารสูตรกากมันสำปะหลัง 10%
เท่ากับ 586 และ 540 กรัม ตามลำดับ แต่สุกรที่ได้รับอาหารสูตรกากมันสำปะหลัง 10% มีอัตราการเจริญเติบโต
ต่อวันต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยสุกรกลุ่มควบคุมและสุกรที่ให้อาหารสูตรกาก
มันสำปะหลัง 10% มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 322 และ 267 กรัมต่อวัน ตามลำดับ ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรที่ให้อาหารสูตรกากมันสำปะหลัง 10% มีประสิทธิภาพการใช้อาหารด้อยกว่า
สุกรกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยสุกรกลุ่มควบคุมและสุกรที่ให้อาหารสูตรกากมัน
สำปะหลัง 10% มีประสิทธิภาพการใช้อาหารเฉลี่ยเท่ากับ 1.83 และ 2.03 ตามลำดับ จากผลการศึกษาของ วริยา
และคณะ (2547) พบว่าสามารถใช้กากมันสำปะหลังผสมในสูตรอาหารสุกรอนุบาลได้สูงถึง 15% ในรูปอาหารผง
โดยไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสมรรถภาพการผลิตและอัตราการตายของสุกร แต่อย่างไรก็ตามระดับเยื่อใยใน
กากมันสำปะหลังอาจส่งผลกระทบต่อการย่อยของสุกร โดยเฉพาะเยื่อใยในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง เช่น
เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส เพกติน เบต้า-กลูแคน เพนโตซาน และไซแลน ซึ่งเยื่อใยเหล่านี้จะดูดน้ำเมื่อเข้าสู่ระบบ
ทางเดินอาหารของสัตว์ ทำให้เกิดสภาวะข้นหนืดและเข้าจับกับสารอาหาร ประกอบกับการทำงานของเอ็นไซม์
ของสุกรระยะนี้ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้เอ็นไซม์จากตัวสัตว์ไม่สามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารมาใช้
ประโยชน์ได้เต็มที่ (เสกสม และคณะ, 2550)
การพิจารณาใช้กากมันสำปะหลังในสูตรอาหารสัตว์นั้น ขึ้นอยู่กับราคาและสถานการณ์ของแหล่ง
วัตถุดิบโปรตีนและพลังงานอื่น เนื่องจากในสูตรอาหารที่มีกากมันสำปะหลังนั้น จะต้องเสริมด้วยโปรตีน กรดอะมิ
โน ไขมัน แร่ธาตุ และวิตามินในระดับสูงกว่าสูตรอาหารที่มีธัญพืชเป็นวัตถุดิบหลัก (Attamangkune, 2007) และ
นอกจากที่สูตรอาหารที่ใช้กากมันสำปะหลังจะต้องใช้ค่าพลังงานการอัดเม็ดที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุน
การผลิตอาหารสัตว์
สรุป
การใช้กากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบทดแทนในสูตรอาหารสุกรระยะอนุบาลที่ระดับ 10% และผ่าน
กระบวนการคลุกไอน้ำอัดเม็ด ทำให้ค่าพลังงานการอัดเม็ดสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ
(P<0.01) และเมื่อนำมาเลี้ยงสุกรระยะอนุบาลพบว่าสุกรที่ได้รับอาหารสูตรควบคุมมีปริมาณอาหารที่กินต่อวันไม่
แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรที่ได้รับอาหารสูตรกากมันสำปะหลัง 10% แต่สุกรทั้งสองกลุ่มมี
อัตราการเจริญเติบโตต่อวันและประสิทธิภาพการใช้อาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดย
สุกรที่ได้รับอาหารสูตรกากมันสำปะหลังระดับ 10% ในรูปของอาหารอัดเม็ดมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าสุกรที่
ได้รับอาหารสูตรควบคุม ส่งผลให้สุกรที่ได้รับอาหารสูตรกากมันสำปะหลังระดับ 10% ในรูปของอาหารอัดเม็ดมี
ประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่าสุกรที่ได้รับอาหารสูตรควบคุม
ขอบคุณ ที่มา : คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
|